วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่  1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา
ความหมายของการวัดผล   การทดสอบและการประเมิน 
                การวัดผล  การทดสอบและการประเมิน  มีความหมายแต่งต่างกัน  แต่ครูส่วนมากยังเข้าใจว่ามีความหมายเหมือนกัน
                การวัดผล  หมายถึง  กระบวนการหาปริมาณ  หรือจำนวนของสิ่งต่างๆ  โดยใช้  เครื่องมือ  อย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด  ผลจากการวัดมักออกมาเป็นตัวเลข  หรือสัญญาลักษณ์  หรือข้อมูล   เช่น 
                                -นายแดงสูง  180 ซม. (เครื่องมือได้แก่  ที่วัดส่วนสูง)
                                -วัตถุชิ้นที่หนัก  2 กก. (เครื่องมือได้แก่ เครื่องชั่ง)
                                -นายดำสอบได้  25 คะแนน (เครื่องมือได้แก่แบบทดสอบ  แสดงว่าแบบทดสอบเป็นส่วนหนึ่งของการวัดผล
                การสัมภาษณ์  หรือว่าครูเห็นว่าการสัมภาษณ์เป็นการสิ้นเปลืองเวลา  อาจจะสร้างแบบฟอร์มแล้วแจกให้นักเรียนกรอกข้อมูลตามที่ครูต้องการ  ก็เป็นการวัดผล  เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า  แบบทดสอบ  ประเด็นที่สำคัญมี  2 ประการคือ
                1.การวัดผลมี  เครื่องมือ  และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดก็มีหลายๆชนิด  จนไม่สามารถนับได้ครบถ้วน  และขอให้สังเกตว่า  ที่ใดมีกิจกรรมย่อมมีการวัดผลเกิดขึ้นด้วย
                2.การวัดผล  เป็นกระบวนการ  กล่าวคือ  มีขั้นตอนในการวัด
                                -กำหนดจุดหมายและคุณลักษณะที่จะวัด  คือจะวัดอะไร  หรือวัดในลักษณะใด
                                -สร้างหรือเลือกเครื่องมือที่จะวัดให้สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการจะวัด
                                -ทำการวัดในสิ่งนั้น
                                -เสนอผลการวัดที่ได้  อาจจะเป็นตัวเลขหรือสัญญาลักษณ์  หรือข้อมูลตามที่ต้องการ
                การสัมภาษณ์  หรือว่าครูเห็นว่าการสัมภาษณ์เป็นการสิ้นเปลืองเวลา  อาจจะสร้างแบบฟอร์มแล้วแจกให้นักเรียนกรอกข้อมูลตามที่ครูต้องการ  ก็เป็นการวัดผล  เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า  แบบทดสอบ            การทดสอบ  (Test) เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผล  ในการวัดผลด้านวิทยาศาสตร์หรือด้วยกายภาพมักจะใช้คำว่า  ทดสอบ  ปนกับคำว่า  วัดผล   เช่นทดสอบการกรด ด่าง
                การทดสอบทางการศึกษา  หมายถึง กระบวนการวัดอย่างใดที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล  โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา  เป็นการวัดพฤติกรรมด้านพุทธพิสัย
                การประเมินผล  หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการวัดผล โดยอาศัยเกณฑ์การพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดผลกับกระบวนการเรียนการสอน
                การจัดการศึกษา เป็นกระบวนการที่มีระบบ ต้องเริ่มต้นจากปรัชญาหรือหลักการ โดยยึดเป็นหลักการศึกษา จากนั้นจึงกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายของแต่ละระดับ  (ประถม มัธยม อุดมศึกษา) ซึ่งไม่เหมือนกัน ครูผู้มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาแก่นักเรียนในระดับนั้นๆ จะต้องศึกษาให้ถี่ถ้วนและยึดเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้การสอนบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ จุดมุ่งหมายดังกล่าวจะระบุถึงลักษณะที่ต้องการอย่างกว้างๆ พิจารณาทำความเข้าใจยาก จึงต้องแยกเป็นจุดมุ่งหมายประจำกลุ่มวิชาหรือรายวิชา เพื่อให้ผู้สอนวิชานั้นๆ ได้มองเห็นเป้าหมายของการสอนเด่นชัดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะบรรจุเข้าในหลักสูตรของระดับนั้นๆ
การวัดผลเป็นกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพของการเรียนการสอนว่าได้ช่วยให้นักเรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่  ถ้าการวัดผลพบว่ายังไม่เป็นไปตามที่วางไว้  ครูต้องหันมาพิจารณาว่ากระบวนการในขั้นใดที่ยังบกพร่องจะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร  จะเห็นได้ว่าการวัดผลเป็นสิ่งที่จะต้องทำตลอดเวลาควบคู่ไปกับการเรียนการสอน  ไม่ใช่เป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1.วัดผลเพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน  หมายถึง  การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด  อย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน  จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษาถือว่าเป็นมุ่งหมายที่สำคัญที่สุด หรือกล่าวว่า ปรัชญาของการวัดผลการศึกษา
2.วัดผลเพื่อวินิจฉัย  หมายถึง  การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า  ยังไม่เกิดการเรียนรู้จนจุดใด  เพื่อหาทางช่วยเหลือ  จุดมุ่งหมายข้อนี้  ถึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนเช่นกัน  เพราะจะช่วยให้นักเรียนเจริญงอกงามบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ จัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนสำคัญที่ครูจะนำไปใช้ในการจัดสอน ซ่อมเสริมได้ถูกต้อง
3.วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง  หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อับดับที่ 1, 2, 3 หรือใครควรได้เกรด A.B,C ใครสอบได้ สอบตก หรือสอบผ่าน ไม่ผ่าน
4.วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน  หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง ว่าเจริญงอกงามขึ้นจากเดิมมากน้อยเพียงใด
5.วัดผลเพื่อพยากรณ์  หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต  เช่น เรื่องของการแนะแนว ว่านักเรียนคนใดควรเรียนสาขาอะไร อาชีพใดควรจะเรียนได้สำเร็จ
6.วัดผลเพื่อประเมิน หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ หลักสูตรเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ประโยชน์ของการวัดผลการศึกษา
                         กระบวนการวัดผลการศึกษาต้องอาศัยงบประมาณ  เวลา แรงกาย และพลังความคิดทั้งในส่วนของครูผู้สอนและนักเรียนในฐานะผู้ถูกวัด ประโยชน์ที่พึงได้จากการดำเนินงานจะคุ้มค่าเพียงใด เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นแยกกล่าวได้ดังนี้
                         1.ประโยชน์ต่อนักเรียน
                         2.ประโยชน์ต่อผู้สอน
                         3.ประโยชน์ต่อฝ่ายแนะแนว
                         4.ประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร
คุณธรรมของนักวัดผลการศึกษา
                1.มีความซื่อสัตย์ สุจริต คือเป็นผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ต่องานวัดผล
                2.มีความยุติธรรม คือ ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับการวัดผลทุกคน
                3.มีความขยันอดทน คือ งานด้านการวัดผลมักจะกระทำในช่วงสั้นๆ หรือต้องทำการวัดอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา
                4.มีความละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ คือ งานด้านอื่นๆ บางอย่างหากทำผิดพลาดอาจจะมีการแก้ไขได้  แต่งานด้านวัดผลต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน
                5.มีความรับผิดชอบสูง คือ ผู้ที่ทำการวัดผลต้องถือว่างานวัดผลเป็นเรื่องสำคัญต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บความลับเกี่ยวกับงานวัดผลได้เป็นอย่างดี
                6.ตรงต่อเวลา คือ ทำงานด้านวัดผลให้เสร็จเรียบร้อยตามเวลาที่กำหนด
                7.สนใจเทคนิคการวัดผลอย่างสม่ำเสมอ คือ เมื่อมีงานด้านวัดผล  พยายามใช้เทคนิคการวัดผลอย่างเหมาะสมในเชิงวิชาการ มิใช่ทำเพื่อ ให้งานเสร็จตามกำหนดเพียงอย่างเดียวหรือทำแบบ สุกเอาเผากิน
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
                หากการยึดหลักการวัดผลที่ว่า  วัดผลเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ย่อมหมายถึงต้องศึกษาวิเคราะห์หาข้อบกพร่องต่างๆ ของนักเรียน  จากนั้นจึงพยายามส่งเสริมให้นักเรียนได้เจริญงอกงามตามที่ต้องการ จุดสำคัญของการวัดผลอยู่ที่  วัดผลแล้วให้นักเรียนเก่งขึ้น  เรียนดีขึ้น ซึ่งการวัดผลส่วนใหญ่  ก็ใช้ การสอบ ดังนั้น อย่าพยายามแยกการสอนจากการสอบออกจากกัน สอนกับสอบควรไปด้วยกัน สอนนำหน้าตามด้วยสอบ การสอบที่ดีควรส่งผลสะท้อน  ไปถึงนักเรียน ให้มีความรู้ความสำเร็จเพิ่มพูน
สรุปท้ายบท
                1.การวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล มีความหมายแตกต่างกัน และการวัดผลเป็นกิจกรรมที่ต้องเกิดขึ้นก่อน จึงจะทำการประเมินผลได้ ส่วนการทดสอบเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของการวัดผล
                2.การประเมินผลที่ดี  ต้องอาศัยหลักการการวัดผลที่ดี และต้องใช้คุณธรรมอันสูงส่ง
                3.บทบาทของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของการเรียนการสอนว่า ได้ช่วยให้นักเรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่
                4.วัดผลเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน  เป็นจุดหมายของการวัดและประเมินการศึกษาที่สำคัญยิ่ง
                5.เมื่อครูทำหน้าที่เป็นนักวัดผลประเมินผลการศึกษา  ต้องมีความซื่อสัตย์และยุติธรรม
                6.การวัดผลทางการศึกษา  ย่อมมีความคลาดเคลื่อนเพราะมีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากมาย
                7.ข้อมูลที่เกิดจากการวัดผลทางการศึกษามีหลายลักษณะ  หรือหลายระดับ จึงต้องแยกพิจารณาออกเป็น 4 ระดับคือ มาครานามบัญญัติ  มาตราเรียงลำดับ  มาตราอันตรภาค และมาตราสัดส่วน   แต่การวัดผลทางการศึกษามีเพียง 3 ระดับแรก (ไม่มีมาตราสัดส่วน)  เพราะ ไม่มีศูนย์แท้ ซึ่งทำให้การประเมินผลทางการศึกษาดำเนินไปด้วยความยากลำบาก
                8.ก่อนจะประเมินผลทางการศึกษาต้องวัดผลหลายๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ
                9.อย่าสอนเพื่อสอบหรือสอนให้ตรงกับข้อสอบ  เพราะโรงเรียนเป็นสถาบันให้การศึกษาไม่ใช่แหล่งกวดวิชา จึงควรสอนให้เกิดความรู้และความคิด และสามารถนำไปใช้ไปปฏิบัติได้
                10.การวัดผลการเรียนต้องใช้เครื่องมือหลายๆ อย่าง ไม่ใช้เฉพาะแบบทดสอบ และเน้นการวัดสภาพจริง  โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
                11.การจำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา  เป็นหลักการสำคัญของการสร้างมาตฐานในการวัดผลและประเมินผลของการเรียนการสอน  หากยึดแนวคิดของ บลูม และคณะ  จะแยกเป็น  3ด้าน  หากยึดแนวคิดของกาเย่  และ บริกส์  จะแยกเป็น  ด้าน